เมนู

กำหนดว่า จตุตฺเถ อาคเต นี้ เป็นกำหนดอย่างต่ำที่สุด. แม้เมื่อ
ภิกษุรูปที่ 4 มา ภิกษุทั้งหลายไม่พอเลี้ยงกัน ในสมัยใด สมัยนั้น จัดเป็นคราว
ประชุมใหญ่ได้. ก็ในคราวที่ภิกษุประชุมกันตั้ง 100 รูป หรือ 1,000 รูป
ไม่มีคำที่จะต้องกล่าวเลย, เพราะฉะนั้น ในกาลเช่นนั้น ภิกษุพึงอธิษฐานว่า
เป็นคราวประชุมใหญ่ แล้วฉันเถิด.
คำว่า โย โกจิ ปริพฺพาชกสมาปนฺโน ได้แก่ บรรดาพวก
สหธรรมิกก็ดี พวกเดียรถีย์ก็ดี นักบวชพวกใดพวกหนึ่ง, ก็เมื่อนักบวชมี
สหธรรมิกเป็นต้นเหล่านั้น รูปใดรูปหนึ่งทำภัตตาหารแล้ว ภิกษุพึงอธิษฐานว่า
เป็นคราวภัตของสมณะ แล้วฉันเถิด.
สองบทว่า อนาปตฺติ สมเย ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติในสมัยทั้ง 7
สมัยใดสมัยหนึ่ง.
คำว่า เทฺว ตโย เอกโต มีความว่า แม้ภิกษุเหล่าได้ยินดีการ
นิมนต์ที่ไม่สมควร รับรวมกัน 2 รูป หรือ 3 รูป แล้วฉัน, ไม่เป็นอาบัติ
แม้แก่ภิกษุพวกนั้น.

[ว่าด้วยจตุตถะ 5 หมวดมีอนิมันติตจตุตถะเป็นต้น]


ในคำว่า เทฺว ตโย เอกโต นั้น บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยด้วยอำนาจ
จตุกกะ 5 หมวด คือ อนิมันติตจตุตถะ (มีภิกษุไม่ได้นิมนต์เป็นที่ 4)
1 ปิณฑปาติกจตุตถะ (มีภิกษุถือบิณฑบาตเป็นวัตรเป็นที่ 4) 1 อนุป-
สัมปันนจตุตถะ
(มีอนุปสัมบันเป็นที่ 4) 1 ปัตตจตุตถะ (มีบาตรเป็น
ที่ 4) 1 คิลานจตุตถะ (มีภิกษุอาพาธเป็นที่ 4) 1.
คืออย่างไร ? คือ คนบางตนในโลกนี้ นิมนต์ภิกษุ 8 รูปว่า นิมนต์
ท่านรับภัต (ข้าวสวย). ในภิกษุ 4 รูปนั้น ไป 3 รูป, ไม่ไป 1 รูป อุบาสก